top of page

Performed @SVH Hall PGVIM May 3, 2022

Concert Poster

Program Note

Please click here for Program Note

Study results

จากการศึกษาพบว่าดนตรีลาตินอเมริกัน มีความคล้ายคลึงกันของดนตรียุโรปอยู่หลายส่วน แต่ก็มีความแตกต่างที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองรวมอยู่ด้วย เป็นการผสมผสานกันของวัฒนธรรมทางดนตรี ส่วนที่ความคล้ายคลึงกับดนตรียุโรปเช่น การใช้รูปแบบ(Form)ดั้งเดิม

แบบ Sonata ฯลฯ และการใช้ Functional Harmony

[ตัวอย่างของการใช้ Functional Harmony (subdiminant-dominant, dom-tonic, etc.)]

Appassionata (Ronaldo Miranda) Bar 37-39

ส่วนที่แตกต่างคือ ใช้โน้ต Appoggiatura จำนวนมากในแนวทำนอง ดนตรีของ Mozart, Haydn, Beethoven ก็มีการใช้ Appoggiatura เหมือนกันแต่ไม่ได้บ่อยครั้งหากเทียบกับผู้ประพันธ์เพลงชาวละตินอเมริกา

ตัวอย่างของการใช้โน้ต Appoggiatura

Appassionata (Ronaldo Miranda) Bar 33-36

ดนตรีลาตินอเมริกันใช้ tall chords (คอร์ดกับโน้ตตัวที่ 9, 11, 13) บ่อยมาก การใช้โน้ต#9 และ b9 ที่เป็นลักษณะเฉพาะ ซึ่งไม่ใช่เรื่องทั่วไปสำหรับดนตรียุโรปทั่วไปของศตวรรษที่ 18-19 โดยพื้นฐานแล้วสิ่งนี้ทำให้เข้าใกล้ภาษาดนตรีแจ๊ส

ตัวอย่างของการใช้โน้ต b9

Appassionata (Ronaldo Miranda) Bar 48-49

ดนตรีลาตินอเมริกันใช้คอร์ด7 ในคอร์ดที่ไม่ใช่คอร์ดทั่วไป โดยปกติแล้วคอร์ด7 จะถูกเน้นใช้ที่คอร์ด V, ii, and viiº แต่กับเพลงเหล่านี้มีการใช้คอร์ด VImaj7, I7, IV7 ที่หาได้ยากในดนตรียุโรป

ตัวอย่างของการใช้คอร์ด VImaj7

Appassionata (Ronaldo Miranda) Bar 21-25

มีการใช้การลัดจังหวะ(Syncopation)ที่มักจะยึดตามรูปแบบการเต้นลาติน (Latin dance rhythmic patterns) 

ตัวอย่างของการใช้การลัดจังหวะ(Syncopation)

Appassionata (Ronaldo Miranda) Bar 3-7

ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดเสียงที่แตกต่างของดนตรีลาตินอเมริกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ

ขอขอบพระคุณ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโณทัย นิติพน

อาจารย์ ดร.จิรเดช เสตะพันธุ

อาจารย์ ดร.อภิชัย จันทนขจรฟุ้ง

อาจารย์ เผด็จ เนตรภักดี

bottom of page